7 แนวทางการเลือกคณะให้โดน

          นักเรียนม.ปลายจำนวนมากที่ยังค้นพบตัวเองไม่เจอ ไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร ถนัดอะไร และอยากเรียนอะไร วันนี้พี่ๆ Top-A tutor มีแนวทางในการเลือกเรียนให้ได้ คณะที่ใช่ คณะที่ชอบ มาฝากกันครับ หวังว่าเมื่ออ่านจบแล้วจะได้แนวทางในการเลือกคณะกันนะครับ

1. เรียนสายไหนมาละ?

          คำถามนี้เป็นคำถามแรกที่จะช่วยน้องๆตัดช๊อยส์ คณะที่น้องๆสามารถเลือกเรียนได้ ได้มากระดับนึงเลยละ เพราะคนที่เรียนสายวิทย์-คณิต สายศิลป์-ภาษา สายศิลป์คำนวนก็จะมีคณะที่มีสิทธิที่จะสมัครสอบเข้าได้แตกต่างกันออกไป ดังนั้นคณะไหน ที่เลือกไม่ได้ ก็ขีดทิ้งไปจากตัวเลือกได้เลยครับ

          แต่อย่างไรก็ตามบางคณะในบางมหาวิทยาลัย ก็มีการเปิดให้สอบได้ทั้งสายวิทย์ และสายศิลป์ ซึ่งทำให้เกิดการเรียนข้ามสาย เช่น คณะวิศวะบางแห่ง เปิดโอกาสให้เด็กสายศิลป์ สมัครสอบได้ คณะแพทย์ เปิดโอกาสให้เด็กสายศิลป์ สมัครสอบได้ เป็นต้น ซึ่งตรงจุดนี้ต้องระวังการเลือกนิดนึงครับ สำหรับน้องๆที่อยากจะเลือกเรียนข้ามสายนั้น พี่ขอบอกเลยว่ายากครับ ยากทั้งการสอบเข้า และการเรียนภายในคณะครับ เพราะความแม่นในเนื้อหาต่างๆ น้องจะสู้คนที่เรียนสายตรงมาไม่ได้ ดังนั้นถ้าคิดจะเรียนข้ามสายละก็ ต้องพยายามให้มากกว่าเพื่อนๆคนอื่นๆเยอะเลยละครับ

2. อยากทำงานอะไร

          คำถามนี้ เหมือนถามความฝันในวัยเด็กนั้นแหละครับ ว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร ซึ่งพี่เชื่อว่าถ้าน้องได้ลองย้อนถามตัวเองดีๆ น้องจะได้คำตอบว่าฝันอยากเป็นอะไรครับ เช่นน้องบางคนอยากเป็นสถาปนิก อยากเป็นผู้พิพากษา อยากเป็นหมอ อยากเป็นทนาย อยากเป็นพิธีกร ซึ่งการที่บอกได้ว่าอยากจะเป็นอะไรในอนาคต ก็จะช่วยในการเลือกคณะของน้องๆไปได้โดยปริยายครับ

3. ชอบหรือถนัดวิชาอะไร

          ลองคิดย้อนไปในตอนเรียนมัธยมหรือประถมที่ผ่านมานั้น น้องๆชอบหรือถนัดเรียนวิชาอะไร ก็จะเป็นตัวช่วยบอกคณะที่ควรเลือกหรือไม่ควรเลือกได้ครับ เช่นถ้าหากว่าไม่ชอบวิชาคำนวน การเรียนวิศวะ หรือบัญชี ก็น่าจะสร้างความลำบากในการเรียนและการทำงานให้น้องๆได้มากเลยละ หรือถ้าชอบทดลองทางวิทยาศาสตร์ การเลือกเรียนคณะวิทยาศาสตร์ ก็น่าจะตอบโจทยน้องๆได้ครับ

4. ชอบทำงานในลักษณะไหน

          ถ้าหากยังไม่รู้ว่าอยากทำงานอะไร อาจเริ่มต้นด้วยคำถามว่า ชอบทำงานในลักษณะไหน ก็จะช่วยในการเลือกคณะที่เรียนได้ครับ เช่น ชอบงานที่ได้อิสระเลือกเวลาในการทำงานได้ การมาเรียนหมอที่อาจจะต้องทำงานหนัก และมีเข้าเวร คงไม่ตอบโจทย์ใช่ไหมละครับ ถ้าชอบการพูด อยากทำงานที่ได้พูดเช่นพิธีกร การเลือกเรียนนิเทศศาสตร์ ก็คงดีกว่าไปเรียนคณะอื่นให้หนักสมอง แม้ว่าอาจจะทำงานพิธีกรได้เช่นกันก็ตาม

5. ลองเข้าค่ายที่แต่ละคณะเปิดรับ

          แทบทุกคณะ ทุกมหาวิทยาลัย จะมีการเปิดค่ายให้นักเรียนระดับม.ปลาย ได้เข้าร่วม ซึ่งในค่ายนั้นน้องๆจะได้ เรียนรู้การเรียนภายในคณะนั้นๆ และพอที่จะมองการทำงานเมื่อจบคณะนั้นๆออก ดังนั้นจึงช่วยหาคำตอบให้น้องๆได้ว่าอยากเรียนคณะนั้นๆจริงหรือไม่ครับ

6. ถามคนรู้จักที่เรียนคณะนั้นๆ หรือประกอบอาชีพนั้นๆ

          ถ้าหากว่าน้องๆมีคนรู้จักที่เรียนคณะนั้นๆ หรือประกอบอาชีพนั้นๆ ลองถามเขาโดยตรงเลยสิ ถามว่าการเรียนนั้นต้องเรียนอะไรบ้าง เรียนหนักไหม จบมาหางานทำอย่างไร โอกาสในการเรียนต่อเป็นอย่างไร รายได้เป็นอย่างไร สิ่งเหล่านี้จะเป็นข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจของน้องๆในการเลือกเรียนต่อได้ครับ

7. นิสัยช่วยบอกคณะได้

          นิสัยของน้องๆเองก็ช่วยในการเลือกคณะได้เช่นกันนะครับ ลองสังเกตนิสัยของตัวเองดูสิครับ เช่นถ้าหากว่า เป็นคนมีนิสัยชอบจินตนาการ ไม่ชอบความคิดที่ถูกตีกรอบ ก็น่าจะเลือกคณะที่เข้ากับนิสัยลักษณะนี้ที่สุด เช่น สถาปัตย์ เป็นต้น แต่ถ้ามีนิสัยเจ้าระเบียบ จริงจัง ชอบสอน การเรียนครุศาสตร์ก็น่าจะตอบโจทย์นะครับ

          สำหรับบทความ 7 แนวทางในการเลือกคณะให้โดนก็คงจบเพียงเท่านี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับน้องๆทุกคนนะครับ การเลือกคณะนั้นเป็นสิ่งที่น้องๆต้องคิดให้ถี่ถ้วนนะครับ ไม่ใช่เลือกตามเพื่อน หรือเลือกตามกระแส เพราะคณะที่เรียน เป็นสิ่งหนึ่งที่กำหนดอาชีพที่เราต้องอยู่ทำงานไปตลอดชีวิตเลยนะครับ ถ้าเลือกคณะที่ไม่ใช่ ก็อาจจะไม่มีความสุขไปทั้งชีวิตเลยละ

 

 


**รับสอนพิเศษ สอนพิเศษที่บ้าน เรียนพิเศษตัวต่อตัวกับติวเตอร์จุฬา และมหิดลที่ Top-A tutor

 ขอบคุณภาพประกอบจาก

www.theguardian.com

ติดตามบทความดีๆเพิ่มเติมจากพี่ๆจุฬา และมหิดล ได้ที่.....

ชื่อผู้ตอบ:

    • สวัสดีทุกๆคนที่กำลังฝึกภาษานะครับ หลายๆคนฝึกแล้วก็ไม่เก่งเสียที ไม่ว่าจะเรียนพิเศษภาษาเพิ่มเติมยังไงก็ไม่เก่งสมใจเสียที ซึ่งอาจจะเกิดจากหลายๆสาเหตุ วันนี้ Top-A tutor ก็มี 4 ส...
    • สวัสดีน้องๆทุกคนอีกครั้งนะครับ วันนี้ Top-A tutor ก็มีบทความเกี่ยวกับการเรียนให้เก่งมากฝากทุกๆคนอีกแล้ว วันนี้บทความของเราจะพูดถึง 5 สิ่งที่คนเรียนเก่งเขาจะไม่ทำกัน ซึ่งหวังว่...