6 เทคนิคการจดเลกเชอร์
นักเรียนในระดับประถมและมัธยมนั้นอาจยังไม่เห็นความสำคัญของการจดเลกเชอร์ แต่ความสามารถในการจดเลกเชอร์หรือจดตามที่อาจารย์พูดหน้าห้องนั้นมีความสำคัญอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับในมหาวิทยาลัย ใครที่จดได้ดี ครบถ้วน และเร็ว ก็จะเก็บความรู้ตรงนั้นไปไว้ทบทวนในเวลาสอบได้ค่อนข้างมาก ดังนั้นวันนี้ Top-A tutor ก็มีบทความดีๆเกี่ยวกับเทคนิคการจดเลกเชอร์มาฝากทุกๆคนให้นำไปทดลองทำตามกันดูนะครับ
1. ใช้สัญลักษณ์
การใช้สัญลักษณ์แทนคำพูดนั้นจะช่วยให้สามารถจดเลกเชอร์ได้ง่าย และรวดเร็วขึ้นมากเลยละครับ อีกทั้งหลายๆครั้งทำให้ง่ายต่อการทบทวนอีกด้วย สัญลักษณ์ต่างๆที่ว่านั้นอาจคิดขึ้นมาเองเพื่อสื่อความหมายของตนเองโดยเฉพาะก็เป็นได้ เช่น ใช้ดอกจัน (***) เพื่อเน้นตรงที่สำคัญ และควรรู้เพราะอาจารย์ย้ำ ใช้เครื่องหมายบวก (+) เพื่อแทนคำว่า “และ” ใช้ลูกศรชี้ขึ้นหรือลงเพื่อแทนคำว่า “เพิ่มขึ้นหรือลดลง” เป็นต้น
2. แบ่งครึ่งกระดาษ
ในกรณีที่ต้องจดลงกระดาษบางชนิดเช่น A4 การแบ่งครึ่งกระดาษตามแนวยาวของกระดาษจะช่วยให้สามารถจดได้ง่ายขึ้น ไม่เปลืองกระดาษและอ่านง่ายขึ้นเป็นอย่างมาก เช่น ในวิชาคณิตศาสตร์เมื่อจดวิธีทำนั้นจะพบว่า 1 บรรทัดอาจเขียน 1 สูตรแล้วก็ขึ้นบรรทัดต่อไปในขั้นตอนต่อไป ทำให้เปลืองกระดาษและเมื่ออ่านก็อาจต้องมองในมุมที่กว้างเพราะในบางครั้งประโยคอยู่ชิดด้านซ้ายกระดาษ สูตรอยู่กลางกระดาษการอ่านลักษณะนี้ก็อาจจะลำบากไปสักนิด แต่หากเปลี่ยนรูปแบบการจดมาจดทีละครึ่งหน้าก็จะพบว่าเปลืองกระดาษน้อยกว่าทำให้จำนวนกระดาษที่ต้องพกพากรณีที่เปลี่ยนสถานที่อ่านก็น้อยกว่า อีกทั้งการอ่านสิ่งที่จดมาก็จะอ่านได้ง่ายกว่าเพราะมุมที่มองก็แคบกว่าและพอดีกับสายตานั่นเอง
การจดแบบเต็มหน้า A4
การแบ่งครึ่งหน้าแล้วจด
3. ฟังก่อนจด
การจดเลกเชอร์ที่ดีนั้น ต้องฟังก่อนจดเสมอเพราะเมื่อฟังแล้วก็จะต้องคิดตามและจัดระเบียบเนื้อหาต่างๆที่ผ่านเข้ามาในสมองก่อนที่จะทำการจดลงไป ซึ่งจะทำให้การจดนั้นป็นขั้นเป็นตอน มีระบบ และเมื่อกลับมาอ่านก็จะสามารถทำความเข้าใจได้อย่างรวดเร็วเพราะเคยคิด และจัดระเบียบเนื้อหานั้นในสมองมาก่อนแล้ว ไม่ใช่สักแต่ว่าจดลงไป
4. แบ่งหัวข้อให้ชัดเจน
การจดที่ดีนั้นควรมีการแบ่งหัวข้อให้ชัดเจนเพื่อที่เมื่ออ่านจะได้รู้ว่าจบ 1 หัวข้อแล้วกำลังขึ้นหัวข้อใหม่ซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการอ่านมากเลยละ
5. เป็นระเบียบและเว้นที่ว่างบ้าง
คงไม่มีใครอยากอ่านเลกเชอร์ที่ไม่เป็นระเบียบใช่ไหมละ เพราะอ่านยากและทำให้สับสนได้มาก ดังนั้นการจดเลกเชอร์ก็ควรที่จะจดให้เป็นระเบียบและเขียนตัวหนังสือให้อ่านง่าย เพื่อให้การกลับมาอ่านทบทวนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งควรมีการเว้นที่ว่างบ้างในหน้าที่จดเพื่อให้ได้มีการพักสายตาจากเนื้อหาที่อ่านบ้างนั่นแหละครับ
6. ใช้ตัวย่อ
เทคนิคการจดเลกเชอร์ให้เร็วอีกอย่างคือการใช้ตัวย่อแทนคำต่างๆที่จำเป็นต้องเขียนยาวๆ เช่น “ปสก” แทนคำว่า “ประสบการณ์” คำว่า “ตย” แทนคำว่า “ตัวอย่าง” ตัวอักษร “ค.” แทนคำว่า “ความ” เป็นต้น โดยอักษรย่อเหล่านี้นั้นอาจคิดขึ้นมาเองเพื่อให้ตนเองเข้าใจได้ก็พอแล้วละ
อยากให้น้องๆทุกคนลองนำเทคนิคเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในการจดเนื้อหาในคาบเรียนกันดูนะครับ น่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย ใครมีข้อเสนอแนะ ติชมก็คอมเม้นไว้ด้านล่างได้เลยนะครับ
**เรียนพิเศษที่บ้าน เรียนพิเศษตัวต่อตัว กับติวเตอร์จุฬา Top-A tutor
ขอบคุณภาพประกอบจาก
studyingforcollege.com
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments
-
-
ในการวัดผลการเรียนหรือการคัดเลือกคนเพื่อศึกษาต่อนั้นกระบวนการวัดผลที่ยังหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการทำข้อสอบ หลายๆคนเตรียมตัวอ่านหนังสือก่อนสอบมาเป็นอย่างดี ความรู้ก่อนสอบแน่นปึ๊ก แต่อ...
-
-
-
ในอนาคตอันใกล้นี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าภาษาที่สองจะมีความสำคัญอย่างมากในการเรียนและการทำงาน เพราะคนที่สามารถใช้ภาษาอื่นๆนอกจากภาษาไทยได้อย่างคล่องแคล่ว ย่อมส่งผลให้มีโอกาสต่างๆในการเร...
-