แนวทางการเตรียมสอบกสพท. PART I

     สวัสดีน้อง ๆ ทุกคนที่อยากเป็นหมอ กันอีกครั้งครับ ในบทความก่อน ๆ Top-A tutor ได้พูดถึงการเตรียมสอบกสพท.ในพาร์ท “ความถนัดแพทย์” ซึ่งคิดเป็น 30 % ของคะแนนสอบทั้งหมดไปแล้ว ในบทความนี้ และบทความหน้าอีก 1 บทความ เราจะมาพูดถึงการเตรียมสอบกสพท. ในพาร์ท “7 วิชาสามัญ” ซึ่งคิดเป็น 70 % ของคะแนนทั้งหมด ไม่น้อยเลยนะครับ !

     บทความนี้จะคุยกันในรายละเอียดส่วนของวิชา วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ) ที่คิดเป็น 28 % และภาษาอังกฤษที่คิดเป็น 14 % เป็นหลักนะครับ ส่วนบทความหน้าจะแนะนำการเตรียมตัววิชา คณิตศาสตร์ ไทย และสังคมนะครับ

1. การเตรียมตัววิชาฟิสิกส์

     ฟิสิกส์เป็นวิชาที่ยากสำหรับน้อง ๆ จำนวนมากซึ่งการเตรียมสอบฟิสิกส์กสพท.นั้นไม่ง่ายเลย เพราะข้อสอบฟิสิกส์ใน 7 วิชาสามัญนี้ ไม่ตรงไปตรงมา จะไม่มีแนวที่ว่าจำสูตรมา แทนสูตร ได้คำตอบ แต่ข้อสอบจะเป็นแนวประยุกต์ ดังนั้นน้อง ๆ จำเป็นต้องใช้ความเข้าใจใน concept ในระดับนึงเลยละ ดังนั้นแนะนำให้อ่านเนื้อหาให้เข้าใจ ไม่ใช่จำสูตรเพียงอย่างเดียวและฝึกทำโจทย์ย้อนหลังเยอะ ๆ เนื่องจากจำนวนข้อสอบนั้นมักจะน้อยกว่า เคมี และชีวะ อีกทั้งแนวข้อสอบก็จะเป็นแนวเดิม ๆ คล้าย ๆ ในปีก่อน ๆ การฝึกทำโจทย์ย้อนหลังจึงช่วยได้มาก ส่วนโจทย์ย้อนหลังก็สามารถหาได้ง่าย ๆ ตามเว็บไซต์ต่าง ๆ เลยครับ

2. การเตรียมตัววิชาเคมี

     ข้อสอบวิชาเคมี 7 วิชาสามัญนั้นมักจะมีจำนวนข้อมากกว่า ฟิสิกส์ และมักจะออกข้อสอบเคมีภาคบรรยายและคำนวนในจำนวนข้อที่พอ ๆ กัน ดังนั้นพี่จึงไม่แนะนำให้ทิ้งเนื้อหาเคมีบทใดเลย เพราะเขาออกแบบเฉลี่ย ๆ ส่วนความยากของเนื้อหานั้นไม่ยากเท่าไหร่ ออกตามเนื้อหาม.ปลายปกติ ไม่ออกเกินเนื้อหา ในการทำข้อสอบเคมีกสพท. แนะนำให้ทำข้อสอบส่วนบรรยายก่อน เพราะถ้ารู้ก็สามารถตอบได้เลย ซึ่งจะทำได้เร็ว แล้วจึงมาทำข้อสอบส่วนคำนวน ที่บางครั้งอาจจะต้องใช้เวลานานกว่าในการทำ

3. การเตรียมตัววิชาชีวะ

     ข้อสอบวิชานี้มักจะมีจำนวนข้อมากที่สุดในทั้งหมด 3 วิชาของวิทยาศาสตร์ และเป็นข้อสอบส่วนที่สามารถทำได้เร็วมาก เพราะถ้ารู้คำตอบก็ตอบได้เลย แต่ถ้าไม่รู้คำตอบอยู่แล้ว จะนั่งคิดให้นานยังไงก็คิดไม่ออก ดังนั้นในการเตรียมสอบวิชานี้นั้นน้องอาจจะต้องใช้เวลามากกว่าวิชาอื่น เพราะปริมาณเนื้อหาที่เยอะมาก และข้อสอบนำเนื้อหามาออกแบบกระจาย ๆ บท จึงบอกไม่ได้ว่าควรอ่านบทไหนมากเป็นพิเศษ แต่แนะนำว่าเริ่มอ่านจากบทที่ชอบก่อนดีกว่า เพราะโอกาสจำเนื้อหาได้ มีมากกว่า ส่วนตอนที่ข้อสอบนั้นแนะนำให้ทำข้อที่ดูง่าย และโจทย์สั้น ๆ ก่อน เพราะตอบได้เร็วกว่า ส่วนข้อที่โจทย์ยาว ๆ ดูน่าจะยากก็ข้ามไปก่อนก็ได้ครับ เพราะจำนวนข้อสอบเยอะ เดี๋ยวจะทำข้อสอบไม่ทันถ้าเสียเวลาไปกับข้อที่โจทย์ยาว ๆ มากไป

4. การเตรียมตัววิชาภาษาอังกฤษ

    วิชาภาษาอังกฤษ คิดเป็น 14 % จาก 100 % ของคะแนนสอบทั้งหมดซึ่งเยอะมากเลยทีเดียว ดังนั้นวิชานี้ทิ้งไม่ได้เลยนะครับ แต่อย่างไรก็ตามวิชาภาษาอังกฤษ เป็นวิชาที่น้อง ๆ อาจจำเป็นต้องพึ่งบุญเก่าเยอะหน่อย เพราะทักษะทางด้านภาษานั้นจะมาสร้างกันในระยะเวลาอันสั้นก็คงจะเป็นไปได้ยาก ในข้อสอบภาษาอังกฤษนั้นพาร์ทที่น้อง ๆ ควรเก็บคะแนนให้ได้คือพาร์ท conversation และ cloze test เพราะเก็บคะแนนได้ไม่ยาก ดังนั้นแนะนำให้ทำไปก่อน แล้วจึงไปทำพาร์ทที่ใช้เวลามากกว่า และยากกว่าคือพาร์ท reading ที่บทความที่ให้มาอาจยาว ครึ่งหน้า ไปจนถึง 2 หน้าเลยทีเดียว พาร์ท reading แนะนำให้อ่านโจทย์ก่อนแล้วจึงมาอ่านบทความเพื่อที่จะได้รู้ว่าต้องหาอะไรในบทความ จะได้ทำข้อสอบได้เร็วขึ้นนะครับ

     ทั้งหมดนี้คือ แนวทางการเตรียมสอบแพทย์ PART I ที่แนะนำวิธีการเตรียมสอบฟิสิกส์ เคมี ชีวะ และภาษาอังกฤษที่พี่ ๆ คณะแพทย์จาก Top-A tutor นำมาฝากน้อง ๆ ครับ ถ้ามีประโยชน์ก็แชร์ต่อให้เพื่อนได้เลย แล้วก็อย่าลืมติดตาม PART II ต่อนะครับในวิชา คณิตศาสตร์ ไทย และ สังคม เจอกันในบทความหน้าครับ

 


 **เตรียมสอบแพทย์ ติวสอบแพทย์ นำทีมโดยติวเตอร์คณะแพทย์จากมหาวิทยาลัยชั้นนำ Top-A tutor

 

ติดตามบทความดีๆเพิ่มเติมจากพี่ๆจุฬา และมหิดล ได้ที่.....

ชื่อผู้ตอบ:

    • หลาย ๆ คนคงประสบปัญหาที่ว่าไม่มีสมาธิอ่านหนังสือ ทำให้อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง ใช้เวลาในการอ่านมากแต่ไม่มีประสิทธิภาพ อ่านจบก็จำไม่ได้ ไม่เข้าใจ ใช่ไหมละครับ ปัญหาเหล่านั้นจะแก้อย่...
    • ในหลาย ๆ ครั้งเนื้อหาของแต่ละบทเรียนที่เรียนก็มีปริมาณมากมายเหลือเกินจนทำให้ถ้าต้องอ่านชีททั้งหมดที่ใช้เรียนอาจจะอ่านไม่ทันได้ วิธีการแก้ไขทางหนึ่งคือการทำ short note สรุปเนื้อหา...